วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

 เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

















สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

 

สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

เอกสารส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง

            สวัสดีค่ะท่านผู้ปกครองพวกเรามีเทคนิคการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากการทดลองด้วยนิทานเรื่อง สุนัขจิ้งจอกกับเงา ซึ่งในนิทานเราสามารถนำมาทำการทดลองที่บ้านได้โดยกิจกรรมนี้จะเกี่ยวกับเรื่องแสงและเงาผู้ปกครองสามารถทำตามได้ง่ายๆโดยชวนกันวัดขนาดของเงา การสังเกตเงา (เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์/ วิทยาศาสตร์)  การนำวัตถุในบ้าน มาติดไฟฉายส่องไปที่ผนังแต่งนิทานสร้างเรื่องราวหรือเล่นละครกับลูก  ซึ่งขณะเล่นกับลูก หากผู้ปกครองได้สังเกตพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก เช่น ภาษาดูว่า การฟังการพูดเป็นอย่างไร  ลูกกล้าแสดงออก มี ความเชื่อมั่นในตนเองเพียงใด การคิดและจินตนาการหลากหลายหรือไม่ การร่วมเล่นสนุกกับลูกๆ จึงให้ประโยชน์อย่างนึกไม่ถึงทีเดียวที่สำคัญส่งผลต่อความรักความอบอุ่นและความสุขในครอบครัวด้วย 


กิจกรรมการทดลองเรื่อง สุนัขจิ้งจอกกับเงา

 


 

            เย็นวันหนึ่งเวลาใกล้พลบค่ำ ดวงอาทิตย์เป็นสีแดงเลือดหมูกำลังจะลับขอบฟ้าได้มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินมาตามถนนซึ่งมันเดินหันหลังให้กับดวงตะวันที่กำลังจะตกดินทันใดนั้นเมื่อมันรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อเห็นเงาของตัวเองบนพื้นเงาดำทึบ ยาวและใหญ่อันเนื่องจากแสงอาทิตย์ปรากฏบนถนน และเคลื่อนที่ไปพร้อมกับตัวของสุนัขจิ้งจอกมันแปลกใจกับเงาของตัวมันเองเป็นอย่างมากและเงานั้นก็ดูเหมือนกับว่าได้เดินนำหน้ามันไปตลอดเสียด้วยสิ ว้าวมันชั่งเป็นเงาที่ใหญ่โตมากเลยนะเนี่ย


 

หากเงาของข้าใหญ่ขนาดนี้ ก็หมายความว่า ตัวของข้าเองนั้นก็จะต้องใหญ่เหมือนกันด้วยน่ะสิมันเกิดความคิดที่หยิ่งผยองขึ้นมาและเริ่มออกเดินต่อไปเรื่อย ๆต่อมามีเสือตัวใหญ่มากตัวหนึ่ง ออกมาปรากฏตัวขึ้นที่ตรงหน้าของสุนัขจิ้งจอกและได้หยุดยืนนิ่งอยู่ที่ตรงเงามันพอดี




เจ้าสุนัขจิ้งจอกเมื่อเห็นเช่นนั้นจึงเปรียบเทียบขนาดของเงาตัวเองกับเสือตัวนั้นพร้อมเอ่ยขึ้นว่าจากที่ข้าดูแล้วนะ..เจ้าตัวเล็กกว่าข้ามาก ฉะนั้นข้าจึงไม่จำเป็นต้องกลัวอะไรทั้งสิ้นสุนัขจิ้งจอกยังพูดแบบหยิ่งยโสต่ออีกด้วยว่าเฮ้เจ้าเสือน้อยคุกเข่าลงต้อนรับข้าเดี๋ยวนี้นะจนกว่าข้าจะเดินผ่านไป

 



ก้าววว! อ้ายสุนัขจิ้งจอกผอมแห้ง ถึงแม้ว่าเมื่อก่อนนี้ข้าจะเคยคิดว่าหากกินเอ็งเข้าไปคงจะไม่อร่อยแต่ตอนนี้ข้าไม่อาจที่จะยกโทษให้เอ็งได้เสียแล้วสิ ก้าวววสุนัขจิ้งจอกจึงต้องพบกับจุดจบคือถูกเสือกินเป็นอาหารที่เกิดจากมันสำคัญตัวผิดคิดหลงไปกับเงาของตัวมันเอง

 

คุยกับลูก

ถ้าหนูเป็นสุนัขจิ้งจอก หนูจะท้าทายเสือหรือไม่เพราะอะไร

บทสรุป

เห็นมั๊ยจ๊ะ การหลงตัวเองคิดว่ายิ่งใหญ่เหนือใครๆนั้นอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในภายหลังได้ ดังนั้นถ้าหนูพบว่า ผู้อื่นมีความแตกต่างกับเรา หนูไม่ควรไปเปรียบเทียบและพูดจาดูหมิ่นเขา

เล่นกับลูก

ชวนลูกวัดขนาดเงา

วัสดุอุปกรณ์

1.      ไฟฉาย

2.       วัตถุภายในบ้าน เช่น ตุ๊กตา ของเล่น

วิธีการเล่น

1.      ปิดไฟในห้องให้มืดสนิทหรือมีแสงน้อยที่สุด

2.      นำวัตถุภายในบ้านมาวางในระยะห่างกันครึ่งไม้บรรทัด มาติดไฟฉายแล้วส่องไปที่ผนังแล้วให้ภาพไปสะท้อนลงบนกำแพง

3.       ถามลูกว่าเพราะเหตุใดเงาถึงมีขนาดแตกต่างกัน

4.       ให้ลูกลองส่องไฟฉาย

ผลการทดลอง

เงาเกิดจากแสงที่ส่องผ่านวัตถุไม่ได้ ทำให้เกิดพื้นที่มืดหลังวัตถุนั้น ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับแสงเสมอ ระยะห่างและทิศทาง ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและวัตถุ มีผลต่อขนาดและรูปร่างของเงา

โปรดตอบคำถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง

1.       เมื่อถามเด็กว่า ถ้าหนูเป็นสุนัขจิ้งจอก หนูจะพูดจาท้าทายเสือหรือไม่ เพราะอะไร

เด็กตอบว่า……………………………………………….. ……………………………………

เพราะ………………………………………………………………………………………….. 

…………………………………………………………………………………………………

2.       กิจกรรมที่ท่านได้ปฏิบัติกับลูกบ่อยครั้งที่สุด

q พูดคุยกับลูก

q ชี้ชวนให้ลูกสังเกตสิ่งต่างๆ ที่พบ

q พาเด็กไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ

q อื่นๆ……………………………..

ลงชื่อ………………………………...ผู้บันทึก

ชื่อเด็ก………………………………………..

ชั้น……………………………………………

วันที่……เดือน………………….พ.ศ………..

                                                          พบกันใหม่พรุ่งนี้ค่ะ

สรุปงานวิจัย

 

นำเสนอวิจัยเรื่อง : การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้ 

 โดย : ธนภรณ์ ก้องเสียง

 ปีพ..2558 

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

 สรุปได้ดังนี้

 

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

 

การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม เพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และเพื่อสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นกระบวนการและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ครูเป็นผู้ตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทดลองไว้อย่างพร้อมเพรียง ก่อนที่เด็กจะลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูอาจจะอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมก่อน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรม ครูเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม ครูให้เด็กออกมานำเสนอหรืออภิปรายสิ่งที่ได้จากการทดลอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสรุปสิ่งที่ค้น พบด้วยตนเองทุกครั้ง และถือว่าการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์ กลาง (Child – centered) และสะท้อนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism) โดยทั่วไปแล้วการจัดกิจ กรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะเป็นกิจกรรมที่ครูปฐมวัยจัดให้เด็กทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้งตามหน่วยการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้หน่วยน้ำ ครูจะให้เด็กได้เรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

 

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

                                โครงการวิทยาศาสตร์(การทดลอง)

           คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก

                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม

                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้แล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์

                3.การนำเข้ากิจกรรม ครูสอนให้เป็นตัวอย่าง ต้องใช้คำถาม(ใครอยากที่จะช่วยบ้าง?)

                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูคสรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก

                5.ขั้นสรุป ครูต้องเท้าความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ

                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป

                        อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม ช่วยกันคิดหน่วยการเรียนรู้เพื่อที่จะทำการทดลอง

 

 

 



วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563

เวลา 08:30 -12:30 น.



เนื้อหาที่เรียน

                    อาจารย์ได้แจกกระดาษแข็ง2ชิ้นเพื่อให้ได้ทำลองเล่นที่เกี่ยวกับอากาศ เลยตัดสินใจทำลูกยาง แต่ทำไม่สำเร็จเนื่องจากกระดาษแข็งเกินไป เลยทำให้ลุกยางตกเร็วเกินไป


                    ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษอ่อนคนละ1แผ่นเพื่อทำลุกยาง ให้ลอยได้นานที่สุด

                สุดท้ายอาจารย์ได้ให้ปั้นดินน้ำมันยังไงก็ไดให้ลอยน้ำได้ เราจะต้องปั้นให้เป็นถ้วย เพื่อที่จะได้ให้อากาศเข้าไปจงทำให้ดินน้ำมันลอย เหมือนกับการต้มบัวลอย ที่เวลาบัวลอบสุก บัวลอยจะมีรูอากาศที่ใหญ่ขึ้นเลยทำให้อากาศเข้าไปและทำให้บัวลอยมันลอบขึ้น  


            คำศัพท์

                        1.float     ลอย

                        2.Air       อากาศ

                        3.Boomerang  บูมเมอแรง

                        4.Rubber ball  ลูกยาง

                        5.Plasticine    ดินน้ำมัน

            ประเมิน

                        ไม่ได้เข้าร่วมการเรียนการสอน


วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.


    เนื้อหาที่เรียน

                     อาจารย์ได้ให้ดุคลิปวิดีโอเกี่ยวกับน้ำและคุณสมบัติของน้ำ และการทดลองต่างๆ

            โดยจะสรุปเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของน้ำ ได้แก่

                1.สมบัติของน้ำ ของแข็ง ของเหลว ก๊าช

                2.การเกิดฝน

                3.การระเหย

                4.การขยายตัว

                5.ความหนาแน่

                6.แรงตึงผิว

                7.แรงกด




การอุ้มน้ำ!!

การเกิดน้ำ

ของแข็ง==น้ำแข็ง

ของเหลว=น้ำดื่ม

ก๊าซ=ไอน้ำ

สสารทั้ง3สามารถวนเวียนกันไปเรื่อยๆ

เมื่อน้ำแข็งได้รับความร้อน

 

 

การเกิดฝน!!

การที่ของแข็งเปลี่ยนเป็นของเหลวเรียกว่าการควบแน่น เมื่อน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยเป็นไอน้ำตลอดเวลา เมื่อน้ำไปรวมกันบนท้องฟ้าก็จะเกิดเป็นก้อนเมฆ 

 

การระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำหลังฝนตก

   >> หลังจากฝนตกน้ำในแหล่งน้ำจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อโดนความร้อนจากดวงอาทิตย์จะเกิดการละเหยและแห้งเหื่อด

 

 

น้ำเค็มน้ำจืด💦

น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นกว่าน้ำธรรมดา จึงทำให้วัสดุหรือคนลอยอยู่ในน้ำเกลือได้นานกว่าน้ำธรรมดา

 

แรงกดดันของน้ำ💧

แรงกดดันของงานจะไม่เท่ากันแรงกดดันที่อยู่บนสุดจะมีแรงกดดันน้อยกว่ารูที่อยู่ข้างล่างจะมีแรงกดดันมากที่สุดน้ำจึงพุ่งออกมาได้มากกว่ารูบนของขวดน้ำ(ใหญ่)

****เปลี่ยนภาชนะ****

เมื่อเปลี่ยนภาชนะ ในลักษณะในลักษณะไม่เท่ากันเมื่อเติมน้ำให้เท่ากันแรงกดดันจะไม่เท่ากัน เมื่อลดปริมาณปริมาตรของน้ำในขวดไม่เท่ากันจึงลดน้ำในขวดใหญ่จึงปล่อยแรงกดดันออกมาไม่เท่ากัน

เขื่อนกั้นน้ำ = น้ำที่อยู่ภายในบริเวณด้านหน้าจะมีแรงกดดันมากกว่าน้ำที่อยู่บริเวณด้านบน ถ้าหากน้ำที่อยู่บริเวณด้านล่างไม่มีแรงกดดันมากพออาจทำให้เขื่อนแตกได้

 

อากาศ

 >> อากาศที่อยู่ภายในขวดที่เติมน้ำเมื่อนำตุ๊กตาที่มีโพแล้วบีบขวดไว้จะตุ๊กตาที่อยู่ด้านล่างเมื่อปล่อยขวดออกจะทำให้ตุ๊กตาลอยขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำ

>> แรงดันอากาศของน้ำทั้งสองด้านเท่ากันน้ำก็จะอยู่เท่ากันไม่ว่าจะปรับให้ด้านหนึ่งสั้นหรือด้านหนึ่งสูงกว่าปริมาณน้ำก็จะอยู่เท่ากัน

 

แรงตึงผิว

>> การลอยบนผิวน้ำ ทดลองเรือเมื่อนำเอาฟองน้ำมาวางไว้เหลือก็จะไม่แล่นถ้าหากนำสบู่มาใส่เรือก็จะสามารถขับเคลื่อนได้บนผิวน้ำ สาเหตุเพราะสบู่มีแรงตึงผิวแรงตึงผิวที่มีมากกว่าก็จะสามารถทำให้เบื่อที่มีแรงตึงผิวสามารถเล่นได้

 

คุณสมบัติของน้ำ

🍆 ปรากฏการณ์ท่อรูเข็ม ธรรมชาติของน้ำสามารถแทรกเข้าไปในช่องว่างของวัตถุได้ไม่ว่าวัสดุนั้นจะมีช่องว่างขนาดเล็กเท่าไหร่ก็ตาม


 อาจารย์ได้ให้ออกแบบของเล่น1ชนิด ที่เกี่ยวกับน้ำ โดยจับกลุ่ม5คน ช่วยกันคิด พวกเราตกลงกันว่า จะทำขวดน้ำดนตรี มี่เปลี่ยนเป็นพลังงาน

            คำศัพท์

                    1.Surface tension  แรงตึงผิว     

                    2.Pressure             แรงกด

                    3.Make sure      ควบแน่

                    4.water turbine      กังหันน้ำ

                    5.Evaporation        การระเหย 


            ประเมิน

                    ประเมินตนเอง ตั้งใจดูคลิปเรื่องน้ำ และช่วยเพื่อนสรุปองค์ความรู้

                    ประเมินเพื่อน ช่วยกันทำานและคิดว่าจะทำของเล่นอะไร

                    ประเมินอาจารย์ ให้ดูคลิปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นที่นักศึกษาเสนอ